ภาษาไทย | English








บุคคลบนพื้นที่สูง ชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย

ประเภทและสถานภาพตามกฎหมายของบุคคลบนพื้นที่สูงและชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย

  1) ประเภทที่ทางราชการมีนโยบายในการกำหนดสถานะตามกฎหมายและให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างถาวร มี 13 กลุ่ม
    (1)
(2)
(3)
(4)
(5)
(6)
(7)
(8)
(9)
(10)
(11)
(12)
(13)

เวียดนามอพยพ
อดีตทหารจีนคณะชาติและจีนฮ่ออพยพพลเรือน
อดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา
ไทยลื้อ
ผู้อพยพเชื้อสายไทย จากจังหวัด เกาะกง กัมพูชา
ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย 
จีนฮ่ออิสระ
เนปาลอพยพ
ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า
ชาวเขาที่อพยพเข้ามาก่อนวันที่ 3 ตุลาคม 2528
ผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวลาวภูเขาอพยพที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศไทย
บุคคลบนพื้นที่สูงและชุมชนบนพื้นที่สูง
ม้งในที่พักสงฆ์ถ้ำกระบอก

  2) ประเภทที่ทางราชการมีนโยบายในการกำหนดสถานภาพให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยในลักษณะชั่วคราว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
    2.1) กลุ่มที่คณะรัฐมนตรีมีมติผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยในลักษณะชั่วคราวอย่างเป็นทางการโดยมีการจัดทำทะเบียน
ประวัติและบัตรประจำตัว และกำหนดให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่กำหนด เพื่อให้พิสูจน์สถานะของตนเอง ได้แก่
      1) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่าอพยพเข้ามาหลัง 9 มีนาคม 2519
    2) ชาวเขาและบุคคลบนพื้นที่สูงอื่น ๆ ซึ่งอพยพเข้ามาหลัง 3 ตุลาคม 2528
    2.2)

กลุ่มที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ชั่วคราวอย่างไม่เป็นทางการ ภายใต้การควบคุมของทางราชการ ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่เคยทำประโยชน์ให้กับทางราชการ กลุ่มตกค้างสำรวจ ซึ่งไม่สามารถระบุจำนวนได้ ได้แก่

      1) ชาวลาวอพยพ
      2) ผู้หลบหนีเข้าเมืองกัมพูชา
      3) กลุ่มชาติพันธุ์ที่ทางราชการเคยใช้ประโยชน์ในงานด้านความมั่นคง เช่น กลุ่มอาสาสมัครช่วยรบพิเศษเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
      4) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยที่ อ.พบพระ จ.ตาก
      5) ชาวแซ่ม ที่ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
     

6)

กลุ่มทหารเขมรอิสระขบวนการกู้ชาติ
  3) ประเภทที่มีผลกระทบค่อนข้างรุนแรงและทางราชการอยู่ระหว่างการพิจารณาเร่งรัดแก้ไขปัญหา แบ่งเป็น  2 กลุ่ม คือ
    3.1) กลุ่มที่ทางราชการต้องมีนโยบายและมาตรการดูแลเป็นการเฉพาะ  เนื่องจากมีเงื่อนไขและเหตุผลพิเศษบางประการ ซึ่งทางราชการจำเป็นต้องผ่อนผันให้อยู่อาศัยในประเทศเป็นการชั่วคราวโดยบางส่วน มีปัญหาเชื่อมโยงกับปัญหา
การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่
      1) แรงงานต่างชาติผิดกฎหมายที่ได้รับการผ่อนผันให้ทำงาน
      2) ผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า
      3)
ชาวม้งในที่พักสงฆ์ถ้ำกระบอก (ยกเว้นกลุ่มที่ 1)
    3.2) กลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่อนผันหรือมีสิทธิพิเศษใด ๆ และต้องดำเนินคดี ตามกฎหมาย ได้แก่
      1)

ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศอย่างถูกต้อง แต่ไม่ยอมเดินทางกลับ เช่น ชาวจีน อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา
และบังคลาเทศ
      2) ผู้ลักลอบเข้าเมืองและไม่ได้อยู่ภายใต้ระบบการควบคุมของทางราชการ เช่น แรงงานต่างชาติผิดกฎหมายที่มิได้รับการผ่อนผัน
      3) ผู้สวมตัวว่ามีสัญชาติไทย หรือถือบัตรประจำตัวประชาชนปลอม